วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 6

           จากการที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้วิธีการสร้างและใช้งานบล็อก โดยมีส่งงานผ่านทางบล็อก ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือการบริหาร เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือสร้างความรู้ บันทึกข้อมูล เรื่องราว ข่าวสารความ รู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ในสิ่งที่สนใจ เป็นการถ่ายทอดสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ในสมองลงสู่ตัวหนังสือ การเขียนมีอิสระทางความคิดในรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเอง ถ้าผู้เรียนมีการเขียน บล็อก อยู่เป็นประจำก็จะสามารถนำมาสู่การสร้างขุมความรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้เรียนสามารถเก็บรวบรวมและแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและรวดเร็ว บล็อกยังเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้ ให้กับผู้เรียน โดยหลักการของ บล็อก คือการเผยแพร่เรื่องราวที่ผู้เขียนเขียนไว้บนบล็อก เพื่อแสดงตัวตนของผู้เขียนออกสู่สาธารณชนซึ่งนั่นหมายถึง บล็อก ย่อมมีความสามารถในการสนับสนุนการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว บล็อกจะเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนความรู้ของผู้เรียน การเขียนบล็อก จะอนุญาตให้ผู้อ่านสามารถแสดงความคิดเห็นต่อความรู้ที่ผู้เรียนเขียนถ่ายทอดลงไปในบล็อก และ ผู้เรียนได้เขียนโต้ตอบต่อความคิดเห็นนั้น ๆ ในลักษณะของการสนทนาเพื่อหาความแตกฉานในตัวความรู้ บล็อกเป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ ของผู้เรียน ผู้ปฏิบัติงาน การเขียนและอ่าน บล็อก เป็นวิธีการค้นหาความรู้ ช่วยให้ค้นพบผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะโดยการเขียน บล็อก ที่มักอ้างถึง บล็อก อื่น ๆ โดยการโยงลิงค์ไปหาบทความหรือบันทึกนั้น ๆ อีกทั้งลิงค์ที่ผู้เรียนบรรจุไว้ในบล็อก ซึ่งอยู่นอกตัวบทความ หรือการร่วมเป็นสมาชิกของบล็อก ในกลุ่มที่เรียน
          นอกจากนี้การสร้างบล็อกจะได้ฝึกประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีความคล่องตัวในการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น
ข้อดี ของการทำบล็อก
1. สร้างง่ายไม่เสียเงิน ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ ไม่ต้องซื้อหนังสือเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เล่มโต ซึ่งช่วยลดเวลาที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่มีค่าใช้จ่ายในการเช้าพื้นที่บนอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
2. เป็นสื่อที่ใช้ในการแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเสนอให้ผู้คนสาธารณะได้รับรู้
3.เป็น เครื่องมือช่วยในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การเสนอข่าวสารความเคลื่อนไหวขององค์กร
4.เป็นแหล่งความรู้ใหม่ๆ ที่ถูกต้องและชัดเจน จากผู้นั้น เนื่องจากผู้เขียน บล็อก มักจะเขียนถึงเรื่องที่ตัวเองถนัด ชอบ และมีมีความรู้เฉพาะด้านๆความรู้ลึกในเรื่องนั้นๆ การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านใน บล็อก ต่างๆ จึงทำให้เราค้นพบความรู้ และผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น
5.ทำให้ทันต่อ เหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน เพราะข่าวสารความรู้ มาจากผู้คนมากมาย(ทั่วโลก) และมักจะเปลี่ยนแปลงได้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบันเสมอ
6. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม
7. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก
8.ผู้ที่สร้างบล็อกสามารถ ปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย
9. พอเจอเพื่อนใหม่ สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
10. เป็นเหมือนบันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลขององค์กร
ข้อเสียของการทำบล็อก
1.เจ้าของบล็อกมีอิสระในการนำเสนอบทความ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสต์เรื่องที่ไม่เหมาะสมได้ ซึ่งเจ้าของบล็อก ต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบในการโพสต์ข้อความต่างๆ
2. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อย หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
3. เปิดโอกาสให้พวกที่ไม่หวังดี เข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน หรือผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้
            สำหรับตัวข้าพเจ้ามีความสุขมากกับการได้ฝึกทำบล็อก ได้รับความรู้และเทคนิคความรู้จากอาจารย์ผู้สอนมากมาย เมื่อนำไปฝึกฝนต่อยอดก็ทำให้มีความรู้และทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น จากเรียนรู้จากอาจารย์ผู้เรียน การแลกเปลี่ยนรู้กับสมาชิกในห้อง ประกอบกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ ข้าพเจ้าจึงได้นำบล็อกไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งพบว่านักเรียนให้ความสนใจกับการเรียนโดยการใช้บล็อก และข้าพเจ้ายังใช้บล็อกในการสร้างเว็บไวต์ให้กับโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของโรงเรียน เป็นช่องทางให้บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองได้แสดงความคิดเห็นที่มีต่อโรงเรียน ซึ่งก็ได้รับความสนใจมาก นอกจากนี้ข้าพเจ้าได้นำไปสอนกับนักเรียนที่โรงเรียน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

กิจกรรมที่ 5

กิจกรรมศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์   ระหว่างวันที่ 24 -28 มกราคม 2554
    เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง (ทุกคนตื่นเต้นกับการเดินทาง)
1. สำรวจความต้องการของสมาชิกในห้อง เกี่ยวกับสถานที่ศึกษาดูงาน ซึงสมาชิก ป.บัณฑิตบริหารการศึกษา  มีมติตกลงไปศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ในระหว่างวันที่ 24 -28 มกราคม 2554
2. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
3. ติดต่อบริษัททัวร์  ซึ่งคณะกรรมการมีมติให้บริษัทศิรินครทัวร์ เป็นบริษัทจัดกิจกรรมศึกษาดูงานในครั้งนี้
4. ทำหนังสือเดินทาง
5. ศึกษางาน ณ  Seklolah Kebangsaan Kodiag school    ประเทศมาเลเซีย                
6. ศึกษางานประเทศสิงคโปร์            

        กิจกรรมการศึกษาดูงานเป็นกิจกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งการเรียนตามหลักสูตร ป.บัณฑิต (บริหารการศึกษา) เพราะจะทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ การบริหารจัดการการศึกษานอกสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้ไปศึกษาดูงานด้านการบริหารการจัดการศึกษา ณ ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ นับได้ว่าได้เป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์เป็นอย่างมาก และเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าประทับใจมากที่สุด
      บรรยากาศการศึกษาดูงาน
24 มกราคม 2554     
วันแรกของการเดินทาง กำหนดเวลาเดินทางวันที่ 24 มกราคม  2554 ด้วยรถทัวร์ของบริษัทศิรินครทัวร์ ออกจาก ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช เวลา 04.00 น. และแวะรับสมาชิกรายทาง ณ จุดต่างๆ เช่น อ.ร่อนพิบูลย์ สามแยกสวนผัก และที่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
           ถึงด่านชายแดนไทย-มาเลเซีย เวลาประมาณ 11.00 น. จัดการเกี่ยวกับเอกสารการเดินทางออกนอกประเทศเสร็จเรียบร้อย และเดินทางเข้าประเทศมาเลเซีย ผ่านขั้นตอนการตรวจหนังสือเดินทางและสัมภาระ
            หลังจากผ่านขั้นตอนต่างๆ เสร็จเรียบร้อยแล้วนั่งรถเดินทางสู่ประเทศมาเลเซีย ชมบรรยากาศ ภูมิประเทศ รู้สึกว่าแตกต่างกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ถนนหนทางกว้างขวาง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย การขับรถส่วนใหญ่ผู้คนมีการเคารพกฏจราจรอย่างเคร่งครัด นั่งรถไปเรื่อย ๆ ชึมซับกับธรรมชาติและบรรยากาศสองข้างทาง เพลิดเพลินกับการฟังเพลงเพราะๆ บนรถสลับกับการสนทนาพูดคุย และถึงจุดแรกคือโรงเรียน Kodiang เป็นโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งอยู่ในรัฐเคดาห์ มีนักเรียน 500 กว่าคน ครู 80 กว่าคน จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลถึง ประถมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ 07.00-12.00 น.ที่ประเทศมาเลเซียนักเรียนจะเรียนถึงเที่ยง ส่วนครูนั้นทำการจนถึงประมาณบ่ายสามโมง บรรยากาศในห้องเรียนก็เรียบร้อยดีมาก วันที่ไปถึงนักเรียนเหลืออยู่บางส่วน ซึ่งส่วนใหญ่ดูแล้วเรียบร้อยดี ไม่วุ่นวายเหมือนกับนักเรียนบ้านเรา การจัดห้องสำนักงาน และสิ่งแวดล้อมก็เรียบร้อย เรียบง่าย เน้นความเป็นระเบียบ อาคารเรียนอนุบาลก็แยกต่างหาก ห้องน้ำห้องส้วมสะอาด สรุปภาพรวมแล้วการดูงานที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เห็นลักษณะการบริหารจัดการ และบรรยากาศโดยรวมแล้วบางอย่างก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในบ้านเราได้หลายอย่าง หลังจากเยี่ยมชมเสร็จแล้วก็ได้มีพิธีการกล่าวต้อนรับของผู้บริหารโรงเรียน Kodiang และกล่าวขอบคุณ พร้อมมอบของที่ระลึกจากคณะนักศึกษา หลังจากนั้นทางโรงเรียนได้จัดอาหารกลางวันคือข้าวหมกไก่ไว้เลี้ยงต้อนรับ เสร็จจากนั้นก็อำลากลับขึ้นรถเพื่อเข้าสู่เกาะปีนังต่อไป

หลังจากนั้นก็เดินทางเข้าสู่เกาะปีนัง ระหว่างที่นั่งผ่านสองข้างทางระหว่างรัฐเคดาห์ อลอสตาร์ ฮิโปห์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม คือการทำนาที่กว้างใหญ่มาก พื้นที่สีเขียวเต็มทั้งสองข้างทาง และที่น่าประทับใจอีกอย่างคือสองข้างทางถนนที่รถแล่นอยู่นั้นจะมีรั้วรอบ คล้ายกับตะแกรงเหล็ก ทราบจากไกด์ว่าถนนนี้เป็นถนนมอร์เตอร์เวย์ที่รัฐให้บริการประชาชนซึ่งได้กำหนดไว้ว่าจะต้องรั้วเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงที่อาจจะออกมาวิ่งเพ่นพ่านตามท้องถนนอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ และอีกอย่างหนึ่งคือประทับใจห้องน้ำ ห้องน้ำที่นี่สะอาดมากเพราะมีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดตลอด 24 ชั่วโมง การเติมน้ำมันที่ปั๊มน้ำมัน ถ้าที่บ้านเราจะมีพนักงานปั๊มมาบริการเติมให้ แต่ที่มาเลเซียเจ้าของรถต้องลงมาเติมเองวิธีการคือ ดับเครื่องรถ ไปซื้อบัตรเป็นการ์ดจากเจ้าหน้าที่แล้วมารูดเองว่าจะเติมกี่ลิตร แต่ที่มาเลย์เขากำหนดให้รถแต่ลคันเติมได้ไม่เกิน 20 ลิตรต่อคัน และต้องเข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง
           นั่งรถไปเรื่อยๆ จนเข้าสู่เกาะปีนั่งในตอนค่ำ เกาะปีนังนี้เมื่อก่อนเป็นของไทยแต่เราต้องเสียดินแดนส่วนนี้ให้กับอังกฤษในสมัย ร.1 เกาะปีนังเป็นรัฐหนึ่งของมาเลย์ เป็นที่ทันสมัยมากมีตึกหรูๆ มากมายหลายตึก มีผู้คนอาศัยอยู่หลายเชื้อชาติ เช่น คนจีน คนอิสลาม ฮินดู และอื่นๆ สภาพโดยทั่วไปคล้ายกับเกาะฮ่องกง มีแหล่งสำคัญ เช่นย่านธุรกิจ ย่านอุตสาหกรรมขนส่งทางเรือ ย่านที่พักอาศัย แต่ที่น่าประทับใจอย่างหนึ่งในมาเลย์คือทุกเมืองเขาจะอนุรักษ์ต้นไม้ การตกแต่งดูแลสิ่งแวดล้อมมีความร่มรื่น และในตัวเมืองคนเขามีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูไม่วุ่นวายเหมือนบ้านเรา จากนั้นก็รับประทานอาหารเย็น อาหารการกินที่มาเลย์ก็รู้สึกว่าเป็นอาหารรสชาติจืดๆ ไม่คุ้นลิ้นกับคนไทยที่พวกเราชอบ แต่ด้วยความหิวอาหารเย็นมื้อแรก
ก็เกลี้ยงหมดทุกเมนู หลังจากนั้นก็กลับเข้าพักผ่อนที่โรงแรม





25 มกราคม 2554
           วันที่ 2 ของการเดินทาง ตื่นเช้าเวลา 05.00 น บ้านเรา แต่มาเลย์เวลา 06.00 น. อาบน้ำแต่งตัวเสร็จรับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม เดินทางออกจากโรงแรมไปยังป้อมปืนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง และถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
          เดินทางเข้าสู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ใช้ระยะทางประมาณ 800 กว่า ก.ม.ก็เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศสองข้างทางถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์แวะชมพระราชวังของประเทศมาเลเซีย อนุสรณ์ทหารอาสา ถ่ายรูปที่ระลึกตึกแฝดที่เลื่องชื่อ หลังจากนั้นเดินทางสู่เกนติ้งเมืองมหานครแห่งความบันเทิงบนภูเขาสูงด้วยกระเช้าไฟฟ้า(SKY WAY)ที่ทันสมัยและรวดเร็ว ปลอดภัย ท่ามกลางความตื่นเต้น ทึ่งกับทัศนียภาพของขุนเขา และเข้าพักที่โรงแรม พร้อมเดินชมศูนย์รวมความบันเทิง และบ่อนคาสิโนหลากหลายชนิด
                                                                                                                          
26 มกราคม 2554

           วันที่ 3 ของการเดินทาง  ออกจากเกนติ้งถึงเมืองใหม่ปุตราจายา ซึ่งเป็นเมืองใหม่ศูนย์รวมสถานที่ราชการของมาเลเซีย ชมตึกรัฐสภา มัสยิดสีชมพู เสร็จแล้วเดินทางต่อไปยังด่านตรวจคนเข้าเมืองโยโฮบารูเพื่อเข้าสู่ประเทศสิงคโปร์ เสร็จพิธีการ รับประทานอาหารเย็น เช็คอินเข้าสู่ที่พัก





27 มกราคม 2554
       วันที่ 4ของการเดินทาง (เริ่มคิดถึงบ้านเจ้าค่ะ)   รุ่งเช้าหลังรับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้วเดินทางไปยังอ่าวสิงคโปร์ ถ่ายรูปกับรูปปั้นสิงโตทะเล พ่นน้ำซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ และเที่ยวย่านการค้าบริเวณถนน ออร์ชาร์ด   เที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าตามอัธยาศัย    หลังจากนั้นเดินทางต่อไปยังเกาะเซ็นโตซ่า ศูนย์รวมความบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกของสิงคโปร์   ชมภาพยนต์ 4 D   (ประทับใจมากค่ะ)   ที่ทันสมัยเหมือนนั่งอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ และเข้าชม Song of the sea ที่สวยงาม  และตระการตาทั้งภาพและเสียง และรับประทานอาหารเย็นที่เกาะเซ็นโตซ่า เสร็จแล้วล่องเรือชมความงามยามค่ำคืนของสิงคโปร์ จากนั้นเดินทางออกจากสิงคโปรเข้าสู่เมืองยะโฮบารู ประเทศมาเลเซีย


28  มกราคม 2554
        วันสุดท้ายของการเดินทาง ( ได้กลับบ้านแล้ว)    รับประทานอาหารเช้าที่โรงแรม เสร็จแล้วเดินทางกลับ  ผ่านกรุงกัวลาลัมเปอร์ จากนั้นเดินทางถึงดิวตี้ฟรี ร้านค้าปลอดภาษี หลังจากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองเข้าสู่ประเทศไทยเรียบร้อยถึงบ้านโดยสวัสดิภาพเวลาประมาณ 12.30 น.
          จากการได้ไปศึกษาดูงานครั้งนี้ ได้รับความรู้และประสบการณ์ที่มากมายหลายอย่าง ได้เห็นกระบวนการการบริหารจัดการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน ได้เห็นสภาพบ้านเมือง วิถีการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองของทั้งสองประเทศ การปฏิบัติตามกฏจราจรที่เคร่งครัด และสภาพบ้านเมืองที่สวยงาม แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ก็คิดว่าไม่มีที่ไหนจะน่าอยู่ไปกว่าเมืองไทยของเรา






                                                                                                                    

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4 การบริหารจัดการด้านระบบสารสนเทศโรงเรียนบ้านแพรกกลาง

โรงเรียน บ้านแพรกกลาง   ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลคลองเส อำเภอถ้ำพรรณรา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  เปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 24  เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2516  เป็นสาขาของโรงเรียนบ้านปลายเส   สอน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3  มีนักเรียนจำนวน 65 คน  ปี พ.ศ.2519
ทางราชการอนุญาตให้ เปิดทำการสอนเอกเทศและได้บรรจุ นายเภ็ญจเร  ทะเดช มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ และในปี พ.ศ. 2517 ทางราชการได้บรรจุแต่งตั้งนายสุนทร  กฐินหอม มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ และปรับปรุงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
                ปัจจุบันโรงเรียนบ้านแพรกกลางมีอาคารเรียนถาวร จำนวน 3 หลัง รวม  18 ห้องเรียน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล มีมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนจำนวน 140 คน  มีบุคลากร  16 คน มี นายสุนทร  กฐินหอม  เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน  สภาพชุมชนโดยรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะที่ราบสูง  ประชาชนมีอาชีพรับจ้างกรีดยาง นับถือศาสนาพุทธ  ทางโรงเรียน ได้แบ่งงาน ออกเป็น 6  ฝ่าย ดังนี้
 

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แนะนำตนเอง


ประวัติโดยย่อ

ชื่อ                  นางศุภวรรณ นาควงค์ รหัสนักศึกษา 534701035
อาชีพ               รับราชการครู ที่โรงเรียนบ้านแพรกกลาง
                      อำเภอถำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช
การศึกษา         ปริญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปัจจุบัน            กำลังศึกษาบริหารการศึกษา    มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
สถานที่ทำงาน     โรงเรียนบ้านแพรกกลาง อำเภอถำพรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช 
ความสนใจ       การเดินทาง /เขียนเรื่องสั้น
คติประจำใจ     ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
กิจกรรมที่ 1 แนะนำสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านแพรกกลาง สพป.นศ2


วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

 กิจกรรมที่ 3   สรุปการใช้โปรแกรม SPSS

1.กำหนดค่าใน variable view 
       -name-พิมพ์  เพศ,a1,a2,......,d3
       -width-ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
       -deimals-เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการ (0,1,2)
      -value-ใส่ค่า แถวเพศ1ชาย  2หญิง  ส่วนแถว  a1,a2....,d3  ใส่ 1-น้อยที่สุด 2-น้อย 3-ปานกลาง 4-         มาก 5-มากที่สุด
2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด(20 ชุด)
3.การวิเคราะห์ข้อมูล
      -transform-compute  variable  -พิมพ์หัวข้อ taใน target variable
      -เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok
      -transform-compute  variable  -พิมพ์หัวข้อ tbใน target variable
     -เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [b1,b2,b3,b4]/4 คลิก ok
     -transform-compute  variable-พิมพ์หัวข้อ tcใน target variable
     -เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [c1,c2,c3,c4]/4 คลิก ok
     -transform-compute variable -พิมพ์หัวข้อ tdใน target variable
     -เลือก sum.ในfunction คลิก function แล้วพิมพ์ sum [d1,d2,d3]/3 คลิก ok
    -คลิก analyze-descriptive statistic - frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ,a1,a2,...d3 แล้วคลิก ok แสดง      ประมวลผล
4.ค่าร้อยละใช้กับ  เพศ  ตำแหน่ง  เงินเดือน  เป็นต้น
5.ค่าเฉลี่ย  ใช้กับ  ข้อคิดเห็นแต่ละข้อ